ฉบับที่: 2/2563

วารสารวิจัยสังคม ปีที่ 43 ฉบับที่ 2

วารสารวิจัยสังคม ปีที่ 43 ฉบับที่ 2 ออกมาในท่ามกลางบริบทการแพร่ระบาดอย่างกว้างขวางและรุนแรงของโรคโควิด-19 ทั้งในโลก และในประเทศไทยในประเทศไทย พบเจอการระบาดใน 3 ระลอกสำคัญคือ ระลอกเดือนเมษายน เดือนตุลาคม และเดือนธันวาคม ในช่วงที่พีคที่สุด มีผู้ติดเชื้อสะสมตลอดปี พ.ศ. 2563 รวม 6,884 ราย และเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาด รัฐบาลใช้พระราชกำหนดการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร ประกาศปิดสถานที่เสี่ยง และประกาศห้ามออกนอกเคหะสถานในเวลากลางคืน (เคอร์ฟิว) ดังนั้น ไม่ใช่เฉพาะผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ผลกระทบของมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดก็เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น รัฐบาลได้ออกพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พ.ร.ก.เงินกู้) มูลค่า 1 ล้านล้านบาท เพื่อใช้ในการป้องกัน เยียวยา ผลกระทบและฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคมจากสถานการณ์โควิด-19 ธีม (theme) หรือหัวข้อสำคัญของวารสารฉบับนี้ จึงให้ความสำคัญกับ โควิด-19 กับสังคมในแง่มุมต่าง ๆ พร้อมไปกับการสัมมนาวิชาการประจำปี พ.ศ. 2563 ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง สังคมหลังโควิด-19: ผลกระทบและการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน ที่เผยแพร่ออนไลน์ผ่านแฟนเพจสถาบันวิจัยสังคม (www.facebook.com/chula.cusri) จำนวน 5 ครั้ง ตลอดเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ดังนั้น 5 ใน 6 บทความในวารสารฉบับนี้ จึงให้ความสำคัญกับผลกระทบของโควิด-19 ต่อสังคมไทย รวมถึงประเทศในภูมิภาคในแง่มุมต่าง ๆ

– บทความพิเศษเรื่อง “โรคระบาดโควิด-19: ทำอะไรกับโลกและ ทำให้โลกเป็นอย่างไร” โดย ชัยวัฒน์ สถาอานันท์
– บทความเรื่อง “ทางเลือกทางรอดของคนทำงานในระบบอาหารต่อความมั่นคงทางอาหาร ท่ามกลางโควิด-19” โดย รัศมี เอกศิริ และศยามล เจริญรัตน์
– บทความเรื่อง “ชีวิตและงานของคนเก็บของเก่าในภาวะวิกฤติโควิด-19” โดย บวร ทรัพย์สิงห์ และวิชยา โกมินทร์
– บทความเรื่อง “ทิ้งใครไว้ข้างหลัง: แรงงานข้ามชาติในประเทศไทยภายใต้สถานกรณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19” โดย วิภาวดี พันธุ์ยางน้อย
– บทความเรื่อง “กระบวนการสร้างความชอบธรรมที่ยึดโยงกับความสามารถในการปฏิบัติงานของรัฐบาลลาวในยุคความปกติใหม่” โดย สุพิชฌาย์ ปัญญา
– บทความเรื่อง “การส่งเสริมนวัตกรชาวบ้านของชุมชนบ้านปางสา ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย” โดย จามรี พระสุนิล
– บทปริทัศน์หนังสือเรื่อง “ว่าด้วยเพศ:จากธรรมชาติ สู่จริยธรรม จนถึงสุนทรียะ และหุ่นยนต์ (On Sex)” โดย เบญจรงค์ ถิระผลิกะ

สารบัญ

ผู้เขียน: บรรณาธิการ

บทบรรณาธิการ

ผู้เขียน: บทบรรณาธิการ

บทความพิเศษเรื่อง "โรคระบาดโควิด-19: ทำอะไรกับโลกและ ทำให้โลกเป็นอย่างไร"

ผู้เขียน: ชัยวัฒน์ สถาอานันท์

บทความเรื่อง "ทางเลือกทางรอดของคนทำงานในระบบอาหารต่อความมั่นคงทางอาหาร ท่ามกลางโควิด-19"

ผู้เขียน: รัศมี เอกศิริ และศยามล เจริญรัตน์

บทความเรื่อง "ชีวิตและงานของคนเก็บของเก่าในภาวะวิกฤติโควิด-19"

ผู้เขียน: บวร ทรัพย์สิงห์ และวิชยา โกมินทร์

บทความเรื่อง "ทิ้งใครไว้ข้างหลัง: แรงงานข้ามชาติในประเทศไทยภายใต้สถานกรณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19"

ผู้เขียน: วิภาวดี พันธุ์ยางน้อย

บทความเรื่อง "กระบวนการสร้างความชอบธรรมที่ยึดโยงกับความสามารถในการปฏิบัติงานของรัฐบาลลาวในยุคความปกติใหม่"

ผู้เขียน: สุพิชฌาย์ ปัญญา

บทความเรื่อง "การส่งเสริมนวัตกรชาวบ้านของชุมชนบ้านปางสา ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย"

ผู้เขียน: จามรี พระสุนิล

บทปริทัศน์หนังสือเรื่อง "ว่าด้วยเพศ:จากธรรมชาติ สู่จริยธรรม จนถึงสุนทรียะ และหุ่นยนต์ (On Sex)"

ผู้เขียน: เบญจรงค์ ถิระผลิกะ