ฉบับที่: 1/2558

วารสารวิจัยสังคม ปีที่ 38 ฉบับที่ 1

วารสารวิจัยสังคมเล่มนี้มีบทความที่เน้นกรณีศึกษาต่างๆ ที่หลากหลาย แต่มีสาระร่วมกันคือ เรื่อง ชุมชนพื้นเมือง: การดำรงอยู่และการปรับตัวท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลง บทความส่วนใหญ่ไม่ได้เน้นหนักในเชิงทฤษฎีหรือแนวคิดเชิงวิชาการ แต่เป็นการเรียบเรียงเรื่องราวของพลวัตที่เกิดขึ้น และการติดตามการปรับตัวและตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงของชนพื้นเมืองกลุ่มต่างๆ โดยมีบทความที่เป็นการศึกษาด้านมนุษยวิทยา ซึ่งใช้วิถีการเก็บข้อมูลโดยการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก สังเกตสภาพชุมชนสังคม ปฏิสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับผู้คนและกลุ่มต่างๆ เข้าร่วมการเสวนา ประชุม และติดตามขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิชุมชน นอกจากนั้น ยังมีบทความที่เป็นการศึกษาด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งมีการสำรวจรังวัดทางสถาปัตยกรรม สัมภาษณ์ สังเกตลักษณะทางกายภาพและสังคมของชุมชน และวิเคราะห์เชื่อมโยงระหว่างข้อมูลที่แสดงถึงลักษณ์ทางกายภาพกับข้อมูลด้านสังคม

ความเสี่ยงและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศของชุมชนพื้นเมืองในบริบทป่าและทะเลในประเทศไทย

ผู้เขียน: นฤมล อรุโณทัย

กลยุทธ์การดำรงชีพของชาวมอแกนในเขตอุทยานแห่งชาติทะเล: การเสะกาและสร้างสรรค์พื้นที่ดำน้ำหาสัตว์ทะเล

ผู้เขียน: ยูกิ ซูซูกิ

การเปลี่ยนแปลงของบ้านเรือนและชุมชนอูรักลาโว้ย: กรณีศึกษาชุมชนแหลมตุ๊กแก หมู่4 ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

ผู้เขียน: ธนภรณ์ วัฒนสุข และสุพิชชา โตวิวิชญ์

ชาวเลในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่เพื่อการอยู่รอดของชุมชนและวิถีวัฒนธรรม

ผู้เขียน: ศิรินันต์ สุวรรณโมลี

จากปฏิสัมพันธ์สู่การเข้าถึง: ความสัมพันธ์ระหว่างมลาบรีกับป่า

ผู้เขียน: ซู นิมนจิยา

ทับ...เพิงพักพิงในพงไพรของชาวมันนิ

ผู้เขียน: วิสา เสกธีระ และเกรียงไกร เกิดศิริ