ฉบับที่: 1/2559

วารสารวิจัยสังคม ปีที่ 39 ฉบับที่ 1

 “Inclusive Society” หรือในที่นี้ขอเรียกว่า “สังคมสำหรับทุกคน” เป็นคำที่คุ้นหูมากขึ้นในทศวรรษที่ผ่านมาจากความพยายามลดความเหลื่อมล้ำระหว่างบุคคลทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นวัยเด็กและเยาวชน วัยแรงงาน และผู้สูงอายุ ทุกเชื้อชาติ ทั้งคนไทยและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ทุกศาสนา ให้เป็นสังคมที่ทุกคนอยู่ดีมีสุข มุ่งความเป็นปึกแผ่นสมานฉันท์ในสังคม (social cohesion) 12 ทุกคนมีสิทธิได้รับการคุ้มครองทางสังคม (social protection) อย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ในโลกของการพัฒนาในศตวรรษที่ 21 เอง ก็ให้ความสำคัญอย่างมากกับปัจเจกชน (individual) ว่าพึงได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานและการเคารพสิทธิความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน รวมไปถึงการเข้าถึงทรัพยากร การใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมในมิติต่างๆ ได้อย่างแท้จริง เพราะถือว่าทุกคนเป็นส่วนหนึ่งและมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนสังคมและประเทศ ดังนั้น วารสารวิจัยสังคมฉบับ 1/2559 นี้ จึงได้รวบรวมประเด็นปัญหาจากหลายมิติและหลากหลายกลุ่มคน เพื่อแสดงให้เห็นถึงการคิดคำนึงถึงกลุ่มคนเล็กคนน้อยรวมไปถึงการคำนึงถึงสิทธิที่บุคคลทุกกลุ่มพึงได้รับอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดการพัฒนากลุ่มคนเหล่านั้นอย่างสมบูรณ์

บทบรรณาธิการ “Inclusive Society”

ผู้เขียน: พิชญา สุรพลชัย

บนเส้นทางสายน้ำนมแม่ อัตลักษณ์ของแม่ทำงานยุคใหม่กับความยากลำบากในความเป็นแม่

ผู้เขียน: ภัทรพรรณ ทำดี

ปัญหา อุปสรรคและข้อจำกัดของการติดตาม ดูแลช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กและเยาวชนที่กระทำผิดคดียาบ้าหลังได้รับการปล่อยตัวกลับสู่ชุมชน

ผู้เขียน: บังอร ศิริโรจน์, ศิรเศรษฐ เนตรงาม, กลิ่นสุคนธ์ กันธาน้อย, อัมพวา ทิมแป้น, กมลระวี ศรีจันทร์

กระบวนการและการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านที่อยู่อาศัยของเครือข่ายสลัมสี่ภาค

ผู้เขียน: ชนกาญจน์ พันธุ์เดิมวงศ์

การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมในการรับมือกับเหตุแผ่นดินไหวของจังหวัดเชียงรายในปี 2557

ผู้เขียน: ศิรินันต์ สุวรรณโมลี

อนาคตของความมั่นคงทางอาหารในกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในประเทศไทย ความท้าทายของชุมชน

ผู้เขียน: ศยามล เจริญรัตน์

งานที่มีคุณค่าสำหรับแรงงานทำงานบ้าน กรณีศึกษาประเทศไทย

ผู้เขียน: ขวัญฤทัย ศิริพัฒนโกศล

ปริทัศน์หนังสือ Joseph E. Stiglitz. The Great Divide Unequal Societies and What We Can Do About Them.

ผู้เขียน: พิชญา สุรพลชัย