สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อความมั่นคงทางอาหารที่เป็นธรรม กรณี ป่าไม้และที่ดินทำกิน

รายละเอียดโครงการ

ความมั่นคงทางอาหารเป็นประเด็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากขึ้นจาการประชุมอาหารโลก (World food Summit) ในปี ค.ศ.1996 ประเด็นความมั่นคงทางอาหารเป็นปัญหาที่ทั่วโลกกำลังเผชิญไปพร้อมๆกับวิกฤติพลังงาน ปัญหาสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การให้ความสำคัญของพืชอาหารที่ลดลง รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของประเทศที่มุ่งเน้นการวัดด้วยตัวเลขของรายได้ การส่งออกในภาพรวมซึ่งให้ความสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมมากกว่าภาคการเกษตร ซึ่งเหล่านี้ได้ส่งผลโดยตรงต่อความมั่นคงทางอาหาร ที่ประกอบด้วย ความพอเพียง การเข้าถึง การใช้ประโยชน์ และเสถียรภาพ (FAO, 2006)

นอกจากนี้ความมั่นคงทางอาหารข้อต้นยังต้องหมายรวมถึงความมั่นคงทางอาหารที่เป็นธรรมสำหรับทุกคน ซึ่งเมื่อมองถึงประเด็นความเป็นธรรมของความมั่นคงทางอาหารแล้วจะพบว่า ปัจจัยหลายประการจะส่งผลต่อความเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมของกลุ่มผู้ผลิตและผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย หรือปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตอาหาร หรือปัจจัยที่เป็นโอกาสในการเลือกที่จะตัดสินใจ ดังนั้น ความมั่นคงทางอาหารจึงเป็นประเด็นที่ส่งผลต่อประชากรในแต่ละประเทศ ไม่เว้นประเทศไทยที่ถือเป็นประเทศผู้ผลิตอาหาร

กลุ่มวิจัย

กลุ่มวิจัยสิทธิและความเป็นธรรมทางสังคม, กลุ่มวิจัยชุมชนและสิ่งแวดล้อม

ระยะเวลาดำเนินการ

สถานะ:

หัวหน้าโครงการ

ดร.ศยามล เจริญรัตน์

แหล่งทุน

เงินอุดหนุนทั่วไปจากรัฐบาล

เอกสารโครงการ

สิทธิชุมชนทรัพยากร.pdf

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อที่สถาบันวิจัยสังคม