


แม้ว่างานวิจัยของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ จะไม่ได้เน้นหนักเรื่องอนาคตศึกษา แต่การได้มีส่วนร่วมในงาน Asia Pacific Futures Network 10th Annual Conference ทำให้ได้ยกประเด็นเรื่องชุมชนพื้นเมืองและชาติพันธุ์กับการตรึกตรองเรื่องหนทางสู่อนาคต
โดย 1. รศ.ดร.นฤมล อรุโณทัย ให้ข้อสังเกตเรื่องความรู้พื้นบ้านกับอนาคตของชุมชนชาวเล
2. อาจารย์ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม (วิชาการ) ให้ภาพงานและเครือข่ายข้ามศาสตร์ของสถาบันวิจัยสังคม ผ่านเรื่องความรู้พื้นบ้าน-ท้องถิ่น เรื่องภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพ-วัฒนธรรม เรื่องโลกทัศน์ต่อจุลชีพ สุขภาพ และการใช้ยา
3. ผศ.ดร.คาร์ล มิดเดิลตัน เสนอเรื่องการอภิบาลธรรมชาติกับแง่คิดต่อการพัฒนาทักษะการมองอนาคต (Futures Literacy) และมี ศ.สุริชัย หวันแก้ว ให้ข้อคิดเห็นเรื่องบทบาทสำคัญของสถาบันการศึกษาต่อการสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะอนาคต