จัดเวทีภายใต้หัวข้อ “4 ปี กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของเด็กและเยาวชนในคดีการเมือง: ความรุนแรง ความสับสน ความเงียบ และความหวัง”

⚖️ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (HRLA) และมูลนิธิช่วยเหลือเด็ก ประเทศไทย (Save the Children Thailand) ได้จัดเวทีวิชาการเพื่อเผยแพร่และสร้างความเข้าใจในประเด็นสิทธิเด็กในกระบวนการยุติธรรมสู่สาธารณะ
📅 ในวันที่ 20 กันยายน 2567 เวลา 9:00 – 12:00 น. ณ Innovation Hub
อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัตถุประสงค์การจัดเพื่อมุ่งเน้นให้เกิดผลในเชิงปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเด็กในกระบวนการยุติธรรม
โดย ดร.เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช หัวหน้ากลุ่มวิจัยการศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง นักวิจัยประจำสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวเน้นย้ำบทบาทสำคัญของการวิจัยในการพัฒนากระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งเน้นย้ำถึงความสำคัญของการนำความรู้เชิงวิจัยไปปรับใช้ในระดับนโยบายเพื่อสร้างผลกระทบในเชิงบวกต่อสังคม
ในโอกาสนี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้จัดทำรายงานการศึกษา 2 ฉบับ ได้แก่ (1) “จากห้องเรียนสู่ห้องพิจารณาคดี: การดำเนินคดีอาญาเพื่อจัดการการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบของเด็กในประเทศไทย” (ธันวาคม 2566) และ (2) “อิสรภาพแบบมีเงื่อนไข: การใช้มาตรการพิเศษแทนการใช้มาตรการทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนในคดีการเมือง” (สิงหาคม 2567) และได้ส่งต่อรายงานดังกล่าวไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาและให้ความคิดเห็นเพิ่มเติม 📨
ต่อมาในช่วงการสรุปผลการศึกษาและแลกเปลี่ยนข้อมูล ศูนย์ทนายความฯ ร่วมกับ HRLA และมูลนิธิช่วยเหลือเด็ก ประเทศไทย ได้จัดเวทีภายใต้หัวข้อ “4 ปี กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของเด็กและเยาวชนในคดีการเมือง: ความรุนแรง ความสับสน ความเงียบ และความหวัง” โดยมีวิทยากรสำคัญได้แก่ คุณคุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ ผู้จัดการฝ่ายคดี ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน คุณทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการบ้านกาญจนาภิเษก และตัวแทนเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากคดีทางการเมือง

https://www.facebook.com/share/p/LTTm1UcnbyPxAN2z