รายละเอียดโครงการ
ในอดีตชาวมอแกนเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ดำรงวิถีชีวิตอยู่ในบริเวณหมู่เกาะและแถบชายฝั่งทะเลอันดามัน ในหน้าแล้งชาวมอแกนใช้ชีวิตอยู่ในเรือ เก็บหาสัตว์ทะเล เปลือกหอย ฯลฯ เพื่อนำมาแลกกับสิ่งของที่จำเป็น
เมื่อเข้าสู่หน้าฝนชาวมอแกนจะหยุดเดินทางและสร้างเพิงพักในอ่าวที่หลบลม หากินริมชายฝั่ง เข้าป่าเพื่อตัดไม้ทำ
บ้าน ทำเรือ และเก็บหาอาหาร
เนื่องจากชาวมอแกนมีการโยกย้ายบ่อยครั้งในอดีต ยิ่งไปกว่านั้น ชุมชนมอแกนมักตั้งอยู่บนเกาะที่ห่างไกล จากแผ่นดินใหญ่ ทำให้ห่างไกลจากบริการของรัฐ ชาวมอแกนส่วนใหญ่ยังไม่มีสัญชาติ จึงทำให้ไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน
หลังจากเหตุการณ์สึนามิ (พ.ศ. 2547) ชาวมอแกนเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น มีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านสถานะบุคคล แต่ยังมีชาวมอแกนอีกจำนวนหนึ่งที่ยังคงไม่มีสัญชาติไทย
ทั้งนี้อุปสรรคมาจากภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร พื้นที่เกาะห่างไกล ช่วงมรสุมที่การเดินทางลำบากและนอกจากนั้นยังมีค่าใช้จ่ายราคาสูงในการเดินทางทั้งสำหรับเจ้าหน้าที่ และสำหรับชาวมอแกนที่จะไปติดต่อสำนักงานทะเบียน พยานบุคคลที่รับรองการเกิดมีน้อยหรือหาไม่ได้เลย วิถีวัฒนธรรมการนับเครือญาติที่
แตกต่างจากที่เราคุ้นเคย เจ้าหน้าที่ด้านนี้ที่มีจำนวนน้อยและไม่สามารถจะสานต่องานได้ต่อเนื่อง ฯลฯ
โครงการนี้จึงพัฒนากระบวนการทำงานให้ความช่วยเหลือด้านสถานะบุคคลแก่ชาวมอแกนหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา
การทำงานต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการทำงาน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษา ชุมชน ฯลฯ โดยโครงการในช่วงแรกมีระยะเวลาใน การดำเนินงาน 5 เดือน คือ 1 เมษายน –31 สิงหาคม 2565 โดยชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจ ได้ดำเนินงานรับคำร้อง
จากชาวมอแกนจำนวนรวมทั้งสิ้น 89 ราย ส่วนโครงการช่วงที่สองนี้มีระยะเวลา 4 เดือน คือ 1 มีนาคม – 30 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2566 เป็นการดำเนินงานต่อจากช่วงแรก
กลุ่มวิจัย
หน่วยปฏิบัติการวิจัยชนพื้นเมืองและทางเลือกการพัฒนา
ระยะเวลาดำเนินการ
สถานะ:
ดำเนินการเสร็จสิ้น
หัวหน้าโครงการ
รศ.ดร.นฤมล อรุโณทัย
แหล่งทุน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
เอกสารโครงการ
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อที่สถาบันวิจัยสังคม