ขอเชิญร่วมฟังเสวนาวิชาการ เรื่อง ‘ความเสี่ยงข้ามแดนและการกำกับดูแลอนาคตร่วมกันของอาเซียน: กรณีโรงไฟฟ้าหงสา ชายแดนไทย-ลาว’

การเกิดขึ้นของ ‘โรงไฟฟ้าหงสา’ คือบทสะท้อนของการลงทุนข้ามแดนในระดับภูมิภาคนานาชาติ อันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการโลกาภิวัตน์ที่ดำเนินไปอย่างเข้มข้นก่อนเกิดวิกฤติ COVID-19
ด้านหนึ่งกระบวนการนี้ขับดันโดยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ แต่อีกด้านหนึ่งกลับผลักภาระไปยังผู้คนจำนวนมากที่ต้องแบกรับผลกระทบและความเสี่ยง โดยที่ตนเองไม่ได้มีส่วนร่วมกำกับดูแล
ที่ผ่านมายังไม่ปรากฏชัดว่าจะมีกลไกใดในการจัดวางอนาคตร่วมกันในภูมิภาค ทั้งยังขาดการรับรู้ข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ขาดการร่วมรับรู้ถึงความทุกข์ยากของผู้คน เหล่านี้ล้วนเป็นประเด็นที่ถูกละเลย
สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ศึกษาสันติภาพและการจัดการความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว และคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ขอเชิญร่วมฟังเสวนาวิชาการ เรื่อง ‘ความเสี่ยงข้ามแดนและการกำกับดูแลอนาคตร่วมกันของอาเซียน: กรณีโรงไฟฟ้าหงสา ชายแดนไทย-ลาว’ วันพุธที่ 7 เมษายน 2564 เวลา 08.30-12.30 น. ณ ห้องประชุม 701 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (ตึกจามจุรี 10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กำหนดการ
● กล่าวเปิดโดย ศ.สุริชัย หวันแก้ว
● ชีวิตผู้คนบนเส้นทาง น่าน-หงสา-หลวงพระบาง-บ่อเต็น
โดย สมพร เพ็งค่ำ หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง ‘ผลกระทบข้ามชาติ โครงสร้างความเหลื่อมล้ำ กับการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน กรณี โรงไฟฟ้าหงสา สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว’
เปิดประเด็นการเสวนา
• มิติด้านการลงทุน โดย สฤณี อาชวานันทกุล
• มิติด้านการเดินทางขนส่ง โดย อ.อดิศร เสมแย้ม สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• มิติด้านพลังงาน โดย ศุภกิจ นันทะวรการ
• การเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวของชุมชนกับโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ ประสบการณ์จาก สปป.ลาว โดย ผศ.ดร.สายใจ สิลาเดด คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว
• ชีวิต นิเวศ วัฒนธรรมของคนในเมืองชายขอบได้ประโยชน์อะไรจาก global value chain โดย ผศ.ดร.อาลัย พนวิไช คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว
ร่วมรับชมการถ่ายทอดสดได้ทาง Facebook [LIVE] สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย