แรงงานเก็บของเก่าถือเป็นอีกหนึ่งกลุ่มของแรงงานนอกระบบ ที่ต้องเผชิญความท้าทายในการดำรงชีวิตมาแต่อดีตในหลายมิติ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น ความเสี่ยงในการทำงาน ค่าตอบแทนและรายได้ที่เพียงพอต่อการดำเนินชีวิต หรือแม้กระทั่งการเผชิญกับการตีตราทางสังคม ขาดการยอมรับ และอยู่อย่างไม่มีศักดิ์ศรีในสังคม ปัจจุบันแรงงานกลุ่มนี้มีจำนวนรวมกันทั้งสิ้นราว 1.5 ล้านคน ทั้งในส่วนที่เป็นแรงงานอิสระและแรงงานที่อยู่ในร้านรับซื้อของเก่า รวมถึงแรงงานที่ถูกจ้างผ่านระบบเอกชนในการเก็บขนขยะ ซึ่งจำนวนแรงงานทั้งหมดดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นตัวเลขจำนวนที่ไม่น้อยทีเดียว หากว่าจะศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่กลุ่มคนเหล่านี้ ซึ่งก็จะเกิดประโยชน์โดยตรงทันที นอกเหนือจากสถานการณ์ที่แรงงานกลุ่มนี้ต้องเผชิญอยู่ก่อนภาวะแพร่ระบาดของโควิด 19 แล้ว ภายหลังวิถีชีวิตแบบปกติใหม่ (New Normal) นับเป็นอีกหนึ่งความท้าทายใหม่ที่จะเข้ามากระทบและเปลี่ยนแปลงชีวิตการทำงานและความเป็นอยู่ โดยเฉพาะขยะติดเชื้อ หน้ากากอนามัย ชุดตรวจแบบ ATK ซึ่งจะเปลี่ยนองค์ประกอบขยะของครัวเรือนไปโดยสิ้นเชิง ซึ่งขยะติดเชื้อเหล่านี้มีผลโดยตรงต่อความเสี่ยงทางสุขภาพ ดังนั้น การศึกษาเพื่อทบทวนสถานการณ์องค์ความรู้ร่วมไปกับการแก้ข้อมูลจากกระบวนการสนทนาหลายฝ่าย เพื่อนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะในการยกระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมให้แก่แรงงานเก็บของเก่ารวมถึงแนวทางในการท างานขับคลื่อนประเด็นที่สำคัญร่วมกัน

รายงานทบทวนสถานการณ์แรงงานนอกระบบ กรณี…แรงงานเก็บของเก่า