ค่อนข้างชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ แล้วกับ “การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.)” โดยเบื้องต้นคาดว่าน่าจะเกิดขึ้นประมาณเดือน พ.ค. 2565 ขณะที่บรรดา “ว่าที่ผู้สมัคร” ทั้งที่ลงสนามในนามพรรคการเมืองและอิสระต่างเริ่มลงพื้นที่พบปะประชาชน รวมถึงชูนโยบายแก้ปัญหาต่างๆ นานา ที่ชาวเมืองหลวงต้องประสบพบเจอ ทั้งแต่การจราจรติดขัดและอุบัติเหตุบนท้องถนน ฝุ่นพิษ PM2.5 น้ำท่วมขังรอการระบาย ฯลฯ
อนึ่ง สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่ดำเนินมากว่า 2 ปีแล้ว มีคำกล่าวหนึ่งว่า “โควิดช่วยทำให้ประเด็นที่แต่ละสังคมไม่ค่อยอยากพูดถึงถูกทำให้มองเห็นชัดขึ้น” ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “แรงงานข้ามชาติ” ที่ทั้งไทยและอีกบางประเทศแม้จะควบคุมการระบาดในพลเมืองหรือประชาชนได้ดี แต่ไปพบการระบาดแบบกลุ่มก้อน (คลัสเตอร์) ขนาดใหญ่ในชุมชนหรือถิ่นที่อยู่อาศัยของแรงงานข้ามชาติ ก่อนจะย้อนกลับมาระบาดยังประชาชนของรัฐชาติตนเองในที่สุด โดยจุดร่วมสำคัญคือ แรงงานข้ามชาติมักเข้าไม่ถึงสิทธิด้านสุขภาพ ขณะที่สุขอนามัยก็ไม่ค่อยดีนัก
สัปดาห์นี้ “ที่นี่แนวหน้า” ขอบอกเล่าข้อเสนอจาก เครือข่ายวิชาการเพื่อสังคมเป็นธรรม (Jusnet) , หน่วยปฏิบัติการวิจัยความมั่นคงของมนุษย์และความเท่าเทียม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (HuSE) และสำนักงานวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เรื่อง “การจัดบริการสุขภาพแรงงานข้ามชาติ เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีความมั่นคงทางสุขภาพ บรรลุวิสัยทัศน์ความยั่งยืนและเป็นธรรม” ที่เผยแพร่เมื่อวันที่22 ก.พ. 2565 ที่ผ่านมา
สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.naewna.com/politic/columnist/50718
เผยแพร่เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565