ยังคงอยู่ที่งานเสวนา (ออนไลน์) หัวข้อ “แรงงานย้ายถิ่นข้ามชาติก่อนและหลังวิกฤติโควิด-19: มองไทยและญี่ปุ่น” จัดโดยสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากที่ก่อนหน้าได้กล่าวถึงงานวิจัยว่าด้วยคนไทยที่ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น (โครงการฝึกงาน“ญี่ปุ่น” อีกเป้าหมาย“ไทย”ขายแรง : หน้า 5 ฉบับวันที่ 12 ก.พ. 2565) ส่วนในตอนนี้ จะว่าด้วยนโยบายด้านแรงงานข้ามชาติของประเทศไทย
ศยามล เจริญรัตน์ นักวิจัยชำนาญการ หน่วยปฏิบัติการวิจัยความมั่นคงของมนุษย์และความเท่าเทียม
สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยายเรื่อง “ถอดกระบวนทัศน์นโยบายแรงงานข้ามชาติไทย”กล่าวว่า ไทยเป็นประเทศรายได้ปานกลาง ในช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 4 ต่อปี ขณะที่การสำรวจในปี 2559 โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) พบว่า แรงงานข้ามชาติ มีสัดส่วนใน GDP ไทยที่ร้อยละ 0.16 หรือราว 1 แสนล้านบาท “ทำไมแรงงานข้ามชาติจึงสำคัญ? เพราะว่าเราก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย คือเราตามญี่ปุ่นไปติดๆ ญี่ปุ่น 28% (สัดส่วน
ผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งประเทศ) เมืองไทย 20% ปีที่แล้ว (2564) คนอายุมากกว่า 60 เราเข้าสังคมสูงวัยแบบเต็มรูปแบบแล้ว เพราะฉะนั้นแปลว่าเรายังขาดแคลนแรงงาน เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก อย่างเช่น สิงคโปร์” ศยามล กล่าว
สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.naewna.com/likesara/635106