แรงงานนอกระบบยุคโควิด(8) ‘เกษตร’ภาครองรับคนกลับถิ่น

ตอนที่ 8 และเป็นตอนสุดท้ายแล้วกับชุดงานเสวนา (ออนไลน์) หัวข้อ “ผลกระทบ การรับมือ และการฟื้นฟูชีวิตความเป็นอยู่และงานของแรงงานนอกระบบ”จัดโดยสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จาก 7 ตอนที่แล้ว (วันพฤหัสบดีที่ 15 ก.ค., เสาร์ที่ 17 ก.ค., อาทิตย์ที่ 18 ก.ค., พฤหัสบดีที่ 22 ก.ค. 2564, พฤหัสบดีที่ 29 ก.ค.,เสาร์ที่ 31 ก.ค. และอาทิตย์ที่ 1 ส.ค. 2564) ไล่ตั้งแต่อาชีพหาบเร่แผงลอย, ผู้ผลิตงานที่บ้าน, ขนส่งสาธารณะกลุ่มแท็กซี่-มอเตอร์ไซค์รับจ้าง, ร้านนวด-ร้านอาหาร

ขนส่งสาธารณะกลุ่มสามล้อถีบ, ลูกจ้างทำงานบ้าน และเก็บของเก่าขาย ตามลำดับ ส่วนในฉบับนี้จะว่าด้วย “ภาคเกษตรกรรม” ซึ่งครองสัดส่วนประชากรแรงงานนอกระบบมากที่สุดเสมอมา ข้อมูลจากรายงาน “สำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2563” จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า คนไทยเป็นแรงงานในระบบประมาณ 17.6 ล้านคน นอกระบบประมาณ 20.4 ล้านคน และแรงงานนอกระบบนี้อยู่ในภาคเกษตรถึง 10.8 ล้านคน

สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.naewna.com/likesara/592731

ดูการถ่ายทอดสดย้อนหลังได้ที่ Facebook เพจ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (https://www.facebook.com/chula.cusri)

เผยแพร่เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2564