แรงงานนอกระบบยุคโควิด(3) ‘ขนส่ง’วิกฤติและจุดเปลี่ยน

ข่าวจากงานเสวนาสาธารณะ รูปแบบออนไลน์ ในหัวข้อเรื่อง “ผลกระทบ การรับมือ และการฟื้นฟู ชีวิตความเป็นอยู่และงานของแรงงานนอกระบบ” ตอน คนทำงานภาคขนส่ง ปลุ่มคนขับรถแท็กซี่ และจักรยานยนตร์รับจ้าง  จัดโดยสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  โดยมี ดร.บวร ทรัพย์สิงห์ นักวิจัยประจำสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินรายการ

สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 พบว่าลูกค้าหายไปเป็นจำนวนมาก ในระลอกแรกที่มีการล็อกดาวน์ 3 เดือน แม้รัฐบาลจะจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาทต่อเดือนเป็นเวลา 3 เดือนในโครงการเราไม่ทิ้งกัน แต่สำหรับผู้ประกอบอาชีพในเมืองถือว่าไม่พอกับค่าใช้จ่ายที่มีสารพัดตั้งแต่ค่าเช่าที่พัก ค่าผ่อนรถ ค่าโทรศัพท์น้ำประปา-ไฟฟ้า ฯลฯ และเมื่อเลิกล็อกดาวน์ในครั้งนั้น การจะเข้าถึงแหล่งทุนในระบบเพื่อกู้เงินมาฟื้นฟูอาชีพก็เป็นไปได้ยาก สุดท้ายก็ต้องไปกู้เงินนอกระบบที่ดอกเบี้ยแพง

จนมาเจอการระบาดระลอก 2 เป็นต้นมา ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นจำนวนมากเมื่อเทียบกับระลอกแรก ส่งผลให้สถานศึกษาปิดทำการ และหลายบริษัทก็หันไปให้พนักงานทำงานอยู่บ้าน (Work from Home) ซึ่งทั้งนักเรียน-นักศึกษา และพนักงานบริษัท คือลูกค้ากลุ่มหลักของมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เมื่อคนกลุ่มนี้หายไปรายได้ของมอเตอร์ไซค์รับจ้างก็ลดลงด้วย

สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.naewna.com/likesara/588395

ดูการถ่ายทอดสดย้อนหลังได้ที่ Facebook เพจ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (https://www.facebook.com/chula.cusri)

เผยแพร่เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2564