บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความรู้ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจการยอมรับนวัตกรรมระบบหญ้าแฝกเพื่อป้องกันดินถล่มในพื้นที่การเกษตรกรณีศึกษาเกษตรกรในพื้นที่ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ทำการเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ จำนวน 383 ครัวเรือน การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการโดยจัดกลุ่มตัวแปรด้านความรู้ออกเป็น 5 ระดับ จากระดับความรู้เกี่ยวกับหญ้าแฝกในระดับน้อยที่สุดถึงระดับความรู้เกี่ยวกับหญ้าแฝกมากที่สุด เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยขั้นความรู้ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจยอมรับนวัตกรรมในขั้นแรงจูงใจ การตัดสินใจ การนำไปใช้ และการยืนยันผลในการนำใช้หญ้าแฝกไปใช้เพื่อการป้องกันการเกิดดินถล่มในพื้นที่ทางการเกษตร ผลการศึกษาพบว่า ความรู้เกี่ยวกับหญ้าแฝกของเกษตรกรมีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจยอมรับการใช้หญ้าแฝกเพื่อป้องกันการเกิดดินถล่มในพื้นที่ทางการเกษตรในขั้นของแรงจูงใจที่มีต่อการนำหญ้าแฝกไปใช้ การตัดสินใจ การนำไปใช้ และการยืนยันในการใช้หญ้าแฝกเพื่อการป้องกันการเกิดดินถล่มในพื้นที่ทางการเกษตรทั้ง 4 ขั้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้น โดยแนวทางในการส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกเพื่อป้องกันดินถล่มจึงควรดำเนินการควบคู่กับการสร้างทักษะด้านความรู้ ทัศนคติและความเข้าใจต่อคุณสมบัติของหญ้าแฝกที่เอื้อต่อการป้องกันดินถล่มควบคู่ไปด้วย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : file:///C:/Users/MANOJ/Downloads/224539-Article%20Text-831580-1-10-20200428.pdf