บทนำ
ประเทศไทยใช้แผนปฏิบัติการระดับท้องถิ่น 21 (Local Agenda 21: LA 21) เพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 เป็นต้นมา ประเทศไทยจึงมีความคุ้นเคยกับแผนปฏิบัติการระดับท้องถิ่น 21 เป็นระยะเวลากว่า 10 ปีแล้ว กอปรกับภายหลังการประชุม Rio + 20 เมื่อปี ค.ศ. 2012 ที่ผ่านมานั้นกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพหลักในการนำาแผนปฏิบัติการ LA 21 สู่การปฏิบัติในระดับท้องถิ่น ได้ประกาศเจตนารมณ์ที่ยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ LA 21 ต่อไป ภายใต้แนวคิด“การพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวในระดับชุมชน” (Green Economy) ซึ่งมีความสอดคล้องไปกับหลักการของชุมชนคาร์บอนตำ่า (Low Carbon Community) เรียกได้ว่าเป็นภาพต่ออีกหนึ่งชิ้น ที่สามารถเติมเต็มการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันเป็นปัญหาสำาคัญในระดับโลกให้กับชุมชนท้องถิ่นไทยได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับความตื่นตัวของประชาคมโลกที่มุ่งให้ความสนใจต่อปัญหานี้ และเร่งดำาเนินการอย่างจริงจังบทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงแนวทางการขับเคลื่อนชุมชนในประเทศไทยสู่การเป็นชุมชนคาร์บอนตำ่า โดยใช้แผนปฏิบัติการ LA 21 เป็นเครื่องมือในการดำาเนินงานว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด และมีแนวทางดำาเนินการที่ผ่านมาอย่างไร รวมทั้งวิเคราะห์แนวทางการขับเคลื่อนชุมชนสู่การเป็นชุมชนคาร์บอนตำ่าภายใต้แนวคิดของ
แผนปฏิบัติการ LA 21 ในบริบทของประเทศไทย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.ej.eric.chula.ac.th/content/6112/84